รวมเคล็ดลับต่างๆ

       
         การเริ่มต้นคิดจะทำอะไรสักอย่างต้องมีการเตรียมตัวเสมอ การสอบก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะสอบที่ไหนเราก็ต้องเตรียมตัวอยู่ตลอดครับ แต่ระยะเวลาในการเตรียมตัวของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันแน่ๆ จึงเกิดคำถามที่ตามมาก็คือ เตรียมตัวสอบแค่ไหนถึงจะเรียกว่าพร้อมซึ่งก่อนอื่นที่เราจะเรยนรู้เทคนิคที่จะตอบปัญหานี้ได้เราต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า พร้อมกันก่อนครับ
เทคนิคเตรียมตัวสอบให้พร้อมรับมือ Admissions
         คำว่าพร้อมนั้น สภาพที่น้องๆมีความมั่นใจอย่างเต็มที่ในเรื่องนั้นๆ แต่ปัญหาก็คือ เมื่อไหร่เราจะพร้อม เนื่องจากเวลาของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันดังนั้นพี่ก็จะมาบอกวิธีการเตรียมตัวเข้ามหาลัยโดยแบ่งตามระยะเวลากันครับ ซึ่งถ้าเป็นไปได้น้องๆที่ยังไม่ขึ้น ม.6 ก็ขอให้ตั้งใจอ่านให้ดีนะ

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 1-2 ปี
         ถ้าน้องเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ ม.4 ก็อยู่ในช่วงนี้ครับ ถือว่าเป็นช่วงการเตรียมตัวที่ดีมาก เพราะระยะเวลาเรียกได้ว่าเหลือเฟือเลยทีเดียว สิ่งแรกที่น้องต้องทำคือ เลือกเส้นทางให้ตัวเองก่อนว่าจะเลือกเดินไปในสายทางอาชีพอะไร หลังจากที่น้องเลือกแล้วน้องก็ต้องไปศึกษาต่อว่าสายที่เราเลือกไปนั้นเราชอบจริงหรือไม่ ซึ่งด้วยเวลาในการเตรียมตัวที่มากจะทำให้น้องสามารถพิจารณาหลายๆสาขาได้เลยครับ

         แล้วหลังจากที่ได้สาขาที่ใช่แล้วก็ให้น้องมองหาเส้นทางต่างๆว่า การที่เราจะเข้าไปเรียนที่คณะนี้เราต้องสอบตรงไหนบ้าง มีวิชาอะไร วิชาไหนสำคัญ วิชาไหนยาก แล้วก็ไปถึงขั้นตอนสุดท้ายก็คือการอ่านหนังสือกักตุนไปเรื่อยๆวันละ 1-2 ชั่วโมงหลังเลิกเรียนก็ได้ครับเพราะเวลาเราเยอะไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 7-11 เดือน
         สำหรับคนที่มีเวลาเตรียมตัวอยู่ในช่วงนี้แสดงว่าน้องเพิ่งขึ้น ม.6 ใช่ไหมครับ สิ่งแรกที่พี่แนะนำเลยก็คือถ้าน้องยังไม่รู้จะเข้าคณะอะไรให้หาคณะที่ตัวเองชอบก่อน โดยอาจจะดูได้จากวิชาที่ถนัด รู้สึกมีความสุขในการเรียนก็ได้ครับ ซึ่งหลายคนอาจจะบอกว่าคิดยังไงก็คิดไม่ออกว่าจะเรียนอะไร คำแนะนำที่พี่จะมอบให้ก็คือ ถึงน้องจะคิดไม่ออกน้องก็ต้องรู้ให้ได้ครับว่าต้องการเรียนอะไรไม่งั้นมันจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังจนเมื่อถึงเวลาใกล้จบ ม.6 น้องจะเครียดและปวดหัวกับเรื่องนี้มากกว่าการที่คิดไม่ออกว่าจะเรียนอะไรในตอนนี้อีกครับ ดังนั้นเราก็ต้องคิดให้ออกว่าอยากเรียนอะไร และหลังจากรู้แล้วก็วางแผนอ่านหนังสือ วางแผนสอบได้เลยครับเวลายังเหลือเฟือ

มีเวลาเตรียมตัวสอบ 5-6 เดือน
         ถ้าหากน้องเพิ่งมาตระหนักถึงเรื่องเข้ามหาวิทยาลัยในช่วง 5-6 เดือนสุดท้ายก่อนชีวิตมัธยมจะจบก็ถือว่ายังพอมีเวลาให้ปรับเปลี่ยนอยู่ครับ โดยก็ใช้หลักเดียวกันกับข้ออื่นคือต้องหาให้ได้ก่อนว่าเราต้องการจะเรียนอะไร แต่ปัญหาจะมาอยู่ที่การสอบตรงบางที่ที่เราอยากจะเข้ามักจะผ่านไปแล้วซึ่งทำให้เราเสียเปรียบคนอื่นอย่างมาก จึงทำให้การเริ่มเตรียมตัวด้วยเวลาที่เหลือเพียง 5-6 เดือนนั้นจึงต้องไปหวังแอดกลางเป็นหลักครับ โดยน้องต้องอ่านหนังสือวันละ 2-3 ชั่วโมงเลยในการท่องศัพท์ ฝึกทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่าครับ แต่ก็ยังโชคดีอยู่ที่ยังพอทันเวลา


มีเวลาเตรียมตัวสอบ 2-3 เดือน
         นี่คือช่วงโคม่าที่สุดแล้วครับ หลายคนอาจสงสัยว่าจะมีใครที่ปล่อยให้เวลามาถึงขนาดนี้แล้วค่อยมาเตรียมตัวด้วยเหรอ พี่ตอบได้เลยครับว่ามีแน่นอน แม้กระทั่งพวกที่การสอบจบไปแล้วยังไม่เริ่มเตรียมตัวก็มีครับ ซึ่งการเริ่มเตรียมตัว 2-3เดือนก่อนหมดชีวิต ม.6 ก็ยังถือว่าดีกว่าที่จะไม่สนใจจริงไหมครับ ถ้าหากใครอยู่ในช่วงนี้พี่ก็ขอแนะนำให้อ่านหนังสือแบบสุดๆไปเลยครับก อย่าคิดเด็ดขาดว่าหมดหวังแล้ว เพราะความคิดติดลบนี่แหละที่จะทำให้น้องสอบไม่ติดไม่ใช่ระยะเวลาหรอกครับ ส่วนคำเตือนที่จะบอกอีกข้อก็คือ น้องจะต้องอ่านหนังสือหนักมากๆดังนั้นสิ่งที่ยากที่สุดก็คือการบังคับให้ตัวเองอ่านหนังสือนี่แหละ ดังนั้นก็อย่าขี้เกียจลองฝืนตัวเองสักครั้งนะครับ

         สุดท้ายพี่ก็เชื่อว่าถึงเวลาจะเหลือน้อยเท่าไหร่ ก็ยังมีแสงเล็กๆอยู่ที่ปลายทางให้เรามองเห็นอยู่เสมอครับ อยู่ที่ว่าน้องจะเลือกเดินต่อหรือว่าจะหยุดเดินเพราะความท้อแท้เพียงชั่วครู่ คำตอบนี้น้องต้องเลือกกันเองนะครับ วันนี้พี่ก็ขอลาไปก่อน ขอให้น้องทุกคนเลิกท้อแท้และหมดหวังนะคร้าบบ


ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : http://www.tewfree.com

6 เทคนิค การอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ให้ได้ผล ใน 1 เดือน

         เทคนิค 6 ข้อ ที่ควรทำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน ซึ่งอาจจะมีข้อสำคัญสำหรับน้องๆ คือ การเลิก Chat ไปสักระยะ (แหม ข้อนี้ทำร้ายจิตใจกันจริงๆ นะคะ) แต่ก็นั่นล่ะค่ะ แชทมากไปก็ไม่ดี น้องๆ ก็รู้อยู่ แชทพอให้หายเครียดก็คงเป็นทางสายกลางที่น่าจะทำนะคะ.. เอ๊า มาดูกัน ว่ามีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง


6 เทคนิค การอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ให้ได้ผล ใน 1 เดือน
         1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ
         2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่
         3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า เราจะเป็นพยาบาลจะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬาอะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน
         4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม
         5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง
         6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : http://webboard.yenta4.com/topic/211543

4 ขั้นตอน การจัดตารางการอ่านหนังสือ

        จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือตอนที่พี่อ่านเตรียมสอบ ไม่ได้จัดตารางเลยครับ เพราะเคยทำแล้ว ทำไม่ได้ แล้วจะอ่านให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ตอบได้คำเดียวครับ “อ่านเมื่ออยากอ่าน” แต่ต้องไม่ใช่ว่ามีแต่ไม่อยากอ่านนะ ต้องทำให้อยากอ่านบ่อยๆ อยากอ่านมากๆ อยากรู้มากๆ เพื่อให้การอ่านมีประสิทธิภาพครับ อ่านทุกเวลาที่สามารถทำได้นั่นแหละดีที่สุด
         เพื่อนพี่เคยติดสูตรไว้ในห้องน้ำ พกสูตรติดตัว พกโน้ตย่อไว้ที่กระเป๋าเสื้อตลอดเวลา บางคนมีหนังสือติดตัวทุกที่ เพื่อให้ อยากอ่านเมื่อไร ก็หยิบขึ้นมาอ่านได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องจัดตารางเอาละ แล้วถ้าจะจัดตารางเวลาอ่านหนังสือ จะทำยังไงดี พี่ขอว่าเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับ



ภาพนาฬิกา จาก emitortiz.com
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
         เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก

2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
         ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะครับ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน

3. ลงมือทำ
         ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ ทำอะไร ทำจริงแล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ

4. ตรวจสอบผลงาน
         ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : http://webboard.yenta4.com/topic/211544

เผย...เคล็ดลับ!!! ความจำดี-อ่านและรู้แล้ว ให้ "รีบนอนให้หลับ"

         เคล็ดให้ความจำระยะยาวฝังหัว พอรู้แล้วให้งีบ หลับกลางวันเสีย มีข้อแนะนำกับผู้ที่อ่านข่าวเรื่องนี้ว่า หากอยากจะจดจำให้ได้แม่น พออ่านจบแล้วให้ไปรีบนอนงีบให้หลับเสีย
         นักวิจัยสมองของมหาวิทยาลัยไฮฟาของอิสราเอล ได้สำรวจพบวี่แววว่า การนอนช่วยเก็บงำความจำระยะยาวที่บางครั้งบางคราวมักจะผ่านไปเร็วให้ โดยเฉพาะหากได้ นอนกลางวันได้นาน 90 นาที จะได้ผลดีที่สุด
         นายอาวี คาร์นี นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า เราก็ยังไม่รู้กลไกของขบวนการความจำที่เป็นไปตอนนอนหลับชัดเจนเหมือนกัน แต่ผลการวิจัยส่อว่า มันอาจจะเป็นไปได้ว่าช่วยเร่งฝังหัวไว้ให้เร็วขึ้น
         ความจำระยะยาว หมายถึงความจำที่คงอยู่กับเราได้แรมปี อย่างเช่น การได้รับอุบัติเหตุทางรถ หรือความจำในวิธีการต่างๆ เช่น การฝึกตีกลอง
         เขารายงานผลการศึกษาวิจัยในวารสาร ประสาทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของสหรัฐฯว่า ได้ทำการศึกษาโดยการบอกให้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จดจำวิธีการบางอย่าง หลังจากนั้นให้กลุ่มที่หนึ่งงีบตอนบ่ายไปนาน 1 ชม. พบว่ากลุ่มที่ได้งีบ แสดงให้เห็นว่าทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งยังพบด้วยว่า การหลับชั่ว 90 นาที ช่วยให้สมองเก็บงำความจำระยะยาวได้เร็วขึ้นมาก
         ดร.คาร์นีกล่าวชี้ว่า การนอนงีบกลางวัน จะช่วยย่นระยะเวลาของการเก็บงำความจำ แทนที่ต้องใช้เวลาตั้ง 6-8 ชม. สมองสามารถบีบอัดความจำ ชั่วในเวลาหลับแค่ 90 นาที เอาไว้ได้”. 
ที่มาจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : http://webboard.yenta4.com/topic/477025



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น